ฟงอวิ๋นและหนังสืออื่นๆ

3.

ฟง อวิ๋น ภาคที่เป็นนิยาย เป็นภาคที่เขียนให้มีความแตกต่างจากการ์ตูนและภาพยนตร์ แต่ว่าเขียนลักษณะของคนแบบต่างๆ ได้ชัดเจนและสะเทือนใจ ทำให้เข้าใจในเรื่องการทำให้ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบรับ และไม่หวังว่าผู้รับจะรับรู้
-------
deadreading ชั้นหนังสือคนตาย
จาก : คุณพงศา จิรรัตนโสภา / จ.ยะลา
ภาพจาก www.burapat.com

--
-------------
ผมเป็นคนที่โชคดีที่มีพี่ๆ ทั้งสามเป็นนักอ่าน และชอบอ่านหนังสือไม่ค่อยเหมือนกัน ทำให้ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือหลากหลายรูปแบบ ก็ประหยัดเงินดี แต่ผมไม่ค่อยมีหนังสือบนชั้นของตัวเองเท่าไหร่
-------------
แต่พอเข้าเรียนมหาวิทยาลัย สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ ทำให้มีรสนิยมการอ่านเป็นของตัวเอง ความสนใจหนังสือเริ่มชัดเจนขึ้น หนังสือบนชั้นที่ผมชอบเป็นพิเศษมีดังนี้
-----------------
"แด่คุณครูด้วยดวงใจ" เป็นหนังสือของพี่ๆ ที่เป็นหนังสือแปลมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณครูที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อที่สอนให้นักเรียนได้เรียนรู้และเติบโต เป็นหนังสือที่ทำให้เกิดความเข้าใจในอาชีพครูมากขึ้นและสร้างกำลังใจที่จะศึกษา สร้างความรู้สึกอยากถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับผู้อื่น
-------------------
"กระบี่เย้ยยุทธจักร" ของ "กิมย้ง" อันนี้ของผมเอง เนื่องจากชอบในละครทีวีที่ดู เลยไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน ทำให้ชอบมากขึ้นไปอีก เนื่องจากเป็นนิยายที่ทำให้เข้าใจประโยคที่ว่า "อย่าตัดสินคน จากที่เห็นภายนอก" และเป็นหนังสือที่ชี้ให้เห็นถึงการเมืองภายใต้ผลประโยชน์ชี้นำ ไม่มีมิตรที่แท้และศัตรูที่ถาวร
--------------------
วารสาร "คน" ของ PMAT เป็นวารสารด้านงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นวิชาชีพผมเอง เลยชอบอ่านเพื่อติดตามความเป็นไปของวงการนี้ได้ทัน
---------------------
"สามก๊ก" อันนี้คงไม่ต้องอธิบายมากมาย แต่เนื่องจากอ่านไม่ครบสามรอบ และจำตัวละครได้ไม่หมดน่าจะยังเป็นคนที่คบได้อยู่
--------------------
"มังกรคู่สู้สิบทิศ" อันนี้อ่านเพราะว่ามีการสอดแทรกความคิดในเรื่องต่างๆ มากมาย ทั้งความคิดเชิงศาสนา การบริหาร การใช้ชีวิต แต่ดูเหมือนจะหนักทางศาสนาเยอะเหมือนกัน อ่านแล้วทำให้ได้คิดอะไรมากมายมีประโยคที่ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น กว้างขึ้น
--------------------
"ฟง อวิ๋น" ภาคที่เป็นนิยาย เป็นภาคที่เขียนให้มีความแตกต่างจากการ์ตูนและภาพยนตร์ แต่ว่าเขียนลักษณะของคนแบบต่างๆ ได้ชัดเจนและสะเทือนใจ ทำให้เข้าใจในเรื่องการทำให้ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบรับ และไม่หวังว่าผู้รับจะรับรู้ ย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก เพื่อน และคนรัก
---------------------------
ขอบคุณที่ยอมอ่าน เรียนคุณ 'ปราย ผมมีหนึ่งเรื่องอยากจะสารภาพ นั่นคือ ผมเพิ่งทราบว่าคุณเป็นผู้หญิง ทั้งนี้ เนื่องจากผมมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อปลายเหมือนกัน เขาเป็นผู้ชาย ทำให้เข้าใจผิด ว่าแต่ว่าคุณเองก็จะเล่าถึงหนังสือบนชั้นของคุณทราบด้วยใช่ไหมครับ ผมหวังว่าอย่างนั้น
-----------------------




หนังสือปลุกใจเสือป่า โฮก!


1.
หนังสือปลุกใจเสือป่า ...โฮก!
ขอพูดสั้นๆ มันเป็นชีวิตผมว่ะ!
โคตรหวงเลยนะ
ช่วยเผาให้สักเล่มสิ
--------------

deadreading

best reading

ชั้นหนังสือคนตาย






ต้องยอมรับว่า "ชั้นหนังสือคนตาย" ของคุณๆ ที่เขียนส่งเข้ามา ล้วนแต่น่ารักน่าสนใจจริงๆ ขอยกตัวอย่าง "บางตู้" ของ "บางศพ" มาให้อ่านหน่อยก็แล้วกัน :) เรื่องแรก เป็นเรื่องราวตู้หนังสือของ "คุณธาตรี" เขียนมาว่า "หากคุณได้รับจดหมายฉบับนี้-คงหมายถึงผมไม่อยู่หรืออาจจะตายไปแล้ว ผมไม่รู้แน่หรอกนะว่าคุณคนที่กำลังอ่านเป็นใคร แต่ผมมั่นใจว่าคุณต้องเป็นคนที่ผมรักแน่ๆ เอ้า ! มาดูซิว่ามีอะไรกันบ้าง"
------------
"หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น-ผมกับหนังสือการ์ตูนถือว่ากรีดเลือดสาบาน คงเพราะเก็บกดมาตั้งแต่เด็ก ตอนนั้นจะหาอ่านการ์ตูนสักเล่มยากแสนยาก ทั้งโดนผู้ใหญ่ว่าและไม่มีเงินซื้อ รู้ไหมว่าผมอ่านหนังสือออกตัวแรกและผมภูมิใจมาก คือคำว่า "โดเรม่อน"การ์ตูนทุกเล่มผมถือว่ามีบุญคุณที่หล่อหลอมให้กลายเป็นนักเขียนการ์ตูนจนถึงทุกวันนี้ พูดได้เต็มปาก-ผมอ่านการ์ตูนตั้งแต่เกิดยันตาย เศร้าใจอยู่อย่างเดียวตรงที่ผมมีหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นมากกว่าการ์ตูนไทยชนิดเทียบกันไม่ได้ เอ่อ...ในนั้นอาจจะมีการ์ตูนโป๊แซมบ้างสักหน่อย อย่าไปบอกใครนะว่าผมมี-ถ้าจะบอกช่วยหักหลักสิบออกด้วย"
--------------
"หนังสือปลุกใจเสือป่า ...โฮก-ขอพูดสั้นๆ "มันเป็นชีวิตผมว่ะ !" โคตรหวงเลยนะ ช่วยเผาให้สักเล่มสิ ในนั้นคุณน่าจะเห็นต้นฉบับการ์ตูนโป๊ที่ผมเขียนขึ้นเอาไว้อ่านเอง เซอร์ไพรส์ ! ผมเคยคิดอยากจะบอกให้คุณเอาไปพิมพ์แจกเป็นหนังสือที่ระลึกงานศพตัวเองนะ แต่ติดว่าไอ้ตัวนางเอกนี่ผมดันใช้ชื่อคนรู้จักนี่สิ"
--------------
"หนังสือวรรณกรรม-ผมอ่านเล่มแรกตั้งแต่อยู่ ป.3 คือ "โรบินสัน ครูโซ" ฉบับเยาวชนของสำนักพิมพ์เม็ดทราย ใช้เวลาอ่านนานมาก พออ่านจบเหมือนกับพิชิตยอดเขาได้ จากนั้นผมก็หาอ่านตามห้องสมุดเรื่อยมา ไม่ค่อยซื้อเพราะไม่มีตังค์ ทำไมวรรณกรรมมันถึงราคาไม่เท่าหนังสือการ์ตูนไปเลยนะ จำได้ว่าเล่มที่ซื้อเองครั้งแรกคือ "สัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบ" (ป.4) วรรณกรรมแปลเยาวชนนั่นแหละ"

"ลามเรื่อยมาก็เป็นพวก "พล นิกร กิมหงวน" (เพราะราคามันถูก) มาซื้อเอาตายตอนช่วงเรียนราชภัฏฯ พวกซีไรท์ไทย ฯลฯ ก็ผมไม่รู้จะอ่านอะไรเลยซื้อเอาเล่มที่ใครๆ เขาว่าดีไว้ก่อน แต่เล่มหนึ่งที่ผมประทับใจมากคือ "จับตาย" รวมเรื่องเอก ของ มนัส จรรยงค์ ชอบมากๆ เลย หลังจากนั้นก็เป็น "เวลา" ชาติ กอบจิตติ, "แผ่นดินอื่น" กนกพงศ์ สงสมพันธ์, "หลังเที่ยงคืน" จำลอง ฝั่งชลจิตร, "ฉันจึงมาหาความหมาย" วิทยากร เชียงกูล แหม มันโดนใจในช่วงนั้น" ปิดท้ายด้วย "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน" วินทร์ เลียววาริณ ก่อนที่ผมจะโบกมือลาวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทยชั่วคราว เมื่อรู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองชอบความท้ายทายและแปลกใหม่"
----------
"จากนั้นผมก็ไปตะลุยอ่านเฮอร์มาน เฮสเส-สเตปเปนวูล์ฟ,มิลาน คุนเดอรา, โอ"เฮนรี่, ดอสโตเยสกี้ ฯลฯ นั่นแหละ ไอ้พวกกระแดะๆ อ่านแล้วน่าฉลาดนี่ผมพยายามหามาอ่านหมด และก็แปลกใจที่เมื่ออ่านจบแล้ว ส่วนใหญ่ผมประทับใจกับพวกมันมาก"
-----------------------
"ต่อมาผมหันไปบ้าญี่ปุ่นอีก ตั้งแต่ คาวาบาตะ, รัมโป ลามมา มูราคามิ, ซูซูกิ โคจิ, ทากุจิ แรนดี้, โอตสึ อิจิ สักพักผมก็แวบมาบ้า "รงค์ หลังๆ ผมก็ย้อนกลับมาอ่านวรรณกรรมเยาวชนอีก สรุป รสนิยมจริงๆ ของผมคือ ผมชอบหนังสือที่ให้แรงบันดาลใจ ทั้งพิศวงชวนประหลาดใจผมเห็นด้วยกับที่ใครไม่รู้ว่าหนังสือเล่มหนึ่งๆ มันเหมาะกับแค่คนบางคนและบางช่วงเวลา หลังๆ นี่บางเล่มหน้าปกยังไม่อยากจะมอง แปลกใจว่าเคยชอบมันได้ยังไง เลยเอาไปบริจาคย้อนหลัง"
-------------
"ฉะนั้น เมื่อผมไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว หนังสือทั้งหมดที่เหลืออยู่ตรงหน้าคุณ ให้รู้เถิดว่ามันเป็นเพื่อนรักที่ไม่มีชีวิต (แต่มีจิตใจ) ของผม ผมอยู่กับมัน รักและภูมิใจในตัวพวกมัน-อิทธิพลของมันโคจรอยู่รอบตัวผม บัดนี้ผมขอโอนถ่ายมันให้กับคุณ มันเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณเต็มที่ที่จะทำอะไรกับมันก็ได้ตามสมควรโดยผมขอรับรองว่าจะไม่เป็นผีมาหลอกคุณแต่อย่างใด"
-------------------------------------------
-------------------------------------

2.

The God Father ปกขาดและหน้าสุดท้ายหายเล่มนั้น ที่พ่อทิ้งเป็นสมบัติไว้ให้ระลึกถึง

dead
reading
best
reading
ชั้นหนังสือ
คนตาย

สําหรับเรื่องราวตู้หนังสือส่วนตัวของคุณ "Barfinn" สาวใต้ ก็น่ารักไม่แพ้กัน เธอเขียนมาเล่าว่า "ตู้หนังสือของฉันประกอบด้วยหนังสือสองยุค ยุคแรกคือยุคที่ฉันเริ่มอ่าน หนังสือในยุคนี้จึงเป็นหนังสือวรรณกรรมเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ โดยเล่มโปรดก็มีหนังสือแปลของ หมอเจมส์ เฮอร์เรียต และ โรอัลห์ ดาห์ล ทุกเล่ม แตงดองแกล้มช็อกโกแลต ซาฮาร่าแดนฝัน เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก"
--------------
"ยุคที่สอง ยุคที่จินตนาการเริ่มจางหาย หนังสือที่อ่านส่วนใหญ่จึงไม่ใช่หนังสือวรรณกรรมเยาวชน (ยกเว้น แฮร์รี่ พอตเตอร์) แต่จะแบ่งเป็นหนังสือนวนิยาย หรือเรื่องสั้นไทยย้อนยุค เช่น เพชรพระอุมา สี่แผ่นดิน รัตนโกสินทร์ บูรพา ร่มฉัตร หนังสือของ สุวรรณี สุคนธา และ พล นิกร กิมหงวน ฉันอ่านหนังสือนวนิยายไทยย้อนยุคเพราะชอบภาษาและบรรยากาศเป็นสำคัญ"
----------------
"หนังสือแนวฆาตกรรม หักมุมก็เป็นอีกประเภทที่ฉันชอบเพราะชวนติดตาม ฉันจึงสะสมเรื่องสั้นแปลของมนันยา และหนังสือแปลของ โรจนา นาเจริญ นอกจากหนังสือทั้งสองแนวที่ชัดเจนแล้ว ในยุคนี้ฉันก็อ่านหนังสืออีกหลายแนว ทั้งสารคดี เรื่องสั้น นิยายชวนหัว ฯลฯ"
------------------
"หนังสือของฉันทุกเล่มฉันจะถนอมอย่างดี สำหรับฉันคงนับว่าเป็นโชคดีอย่างหนึ่งที่หนังสือไม่สามารถพูดออกมาได้ เพราะไม่ฉะนั้น ฉันคงถูกหนังสือหลายเล่มตัดพ้อจากการใช้งานที่ไม่สมกับที่พวกเค้าเป็นหนังสือ เพราะหนังสือเกือบทุกเล่มรับใช้ฉันแค่คนเดียว เนื่องจากฉันไม่มีพี่น้อง (นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่แม่ยังสงสัยไม่เลิกว่าทำไมฉันต้องซื้อหนังสือมาเก็บ เช่าอ่านไม่ดีกว่าหรือ) บางเล่มอาจโชคดีที่ฉันนำไปให้เพื่อนยืมอ่านพร้อมคำโฆษณายืดยาว"
---------------


---------------------
"ตั้งแต่เด็กแล้วที่ฉันอิจฉาเพื่อนๆ ที่พ่อแม่เก็บหนังสือดีๆ ไว้ให้ เพราะหนังสือที่บ้านมีอยู่น้อยมาก เนื่องจากแม่ของฉันเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ส่วนพ่อนั้นแม้จะเรียกได้ว่าเป็นหนอนหนังสือ แต่หนังสือของพ่อจะไปอยู่อีกบ้านหนึ่ง หนังสือที่บ้านทุกวันนี้ จึงล้วนแต่เป็นหนังสือที่ฉันสร้างขึ้นเอง (ยกเว้น The God Father ปกขาดและหน้าสุดท้ายหายเล่มนั้น ที่พ่อทิ้งเป็นสมบัติไว้ให้ระลึกถึง)
--------------
"โดยคิดเผื่อว่าวันหนึ่งถ้าฉันมีลูก ลูกของฉันจะได้คิดว่าเค้าเป็นเด็กโชคดีที่มีหนังสือดีๆ รอให้อ่าน คิดแล้วก็คงเหมือนเป็นการทดแทนสิ่งที่ฉันขาดในวัยเด็ก...เหมือนการเยียวยาตัวเอง"
-------------
"ถ้าฉันตายกะทันหันโดยไม่มีลูก เพื่อนรักคนหนึ่งจะเป็นคนจัดการเกี่ยวกับหนังสือ (หรือสมบัติบ้าที่แม่เรียก) ฉันอนุญาตให้เพื่อนรักเลือกหยิบไปได้ด้วยความสะดวกใจ ที่เหลือให้นำไปบริจาคตามสถานที่เห็นสมควร"
--------------
"โดยห้ามเอาไปขายแม้แต่เล่มเดียว"


dead reading,best reading

dead
reading
best
reading


ชั้นหนังสือ
คนตาย


สมัยยังเรียนหนังสือ เวลาไปบ้านเพื่อนคนหนึ่ง ฉันจะบอกมันทุกครั้งว่า "ฉันอิจฉาแกว่ะ" เพราะมันเกิดมาท่ามกลางหนังสือดีๆ มากมายบ้านเพื่อนคนนี้มีตู้หนังสือไม้สักใหญ่โตมาก เนื้อไม้เป็นมันเงาวับ ในตู้นั้นบรรจุวรรณกรรมระดับสุดยอดเอาไว้เพียบ

----------------------------
The Old Man and the Sea
New York: Life Magazine, 1952.
www.lib.udel.edu
--------------------------------------
ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สงครามชีวิต ของ ศรีบูรพา, ขลุ่ยไม้ไผ่ ของ พจนา จันทรสันติ, The Old Man and the Sea ของ เออร์เนสต์ เฮมมิ่งเวย์, Of Mice and Men หรือหนังสือเล่มอื่นๆ ของ จอห์น สไตน์เบค ประมาณว่าน่าจะมีครบชุดเลยล่ะแม้กระทั่ง "คู่กรรม" ของทมยันตี ก็มีอยู่ในบ้านมันตั้งแต่เกิดแล้ว
----------------------
ในขณะที่ฉันต้องใช้ความเพียรพยายามค้นควานหาหนังสือเหล่านี้มาอ่าน จากห้องสมุดบ้าง จากเพื่อนๆ พี่ๆ เขามีเมตตาหยิบยื่นให้ยืมอ่านบ้าง บางเล่มตอนนั้น ต้องไปอาศัยยืนอ่านเอาทีละหน้าสองหน้าจนจบเล่มจากร้านหนังสือละแวกหน้ามหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินซื้อ
-----------------
แต่เมื่อถึงวันนี้ ฉันไม่ได้รู้สึกอิจฉาเพื่อนคนนี้อีกต่อไปแล้ว เมื่อเริ่มตระหนักได้ว่า การเติบโตมาในบ้านที่ไม่มีของแบบนี้มาตั้งแต่เกิด มันก็ดีอยู่เหมือนกัน เพราะมันทำให้เราขวนขวายหาอ่านโน่นอ่านนี่อย่างไม่รู้จบสิ้น ในขณะที่เพื่อนฉันคนนั้น ...ในทุกวันนี้มันอ่านคู่กรรมยังไม่จบเล่มเลย

ฉันได้รับสิ่งดีๆ มากมายในชีวิตจากการอ่านหนังสือ หนังสือดีๆ ชักจูงให้ฉันได้พบเจอคนที่ดี ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ทำให้ฉันมีโอกาสก่อร่างสร้างฝันให้เป็นจริงได้อย่างไม่รู้จบสิ้น
------------------
ฉันเพิ่งอ่านพบบทความเรื่อง Learning to Read a Doctor’s Books ของ เคน กอร์ดอน ที่ได้เขียนเล่าเรื่องการเสียชีวิตของอายุรแพทย์วัยแปดสิบกว่าปีผู้หนึ่งว่า แม้ครอบครัวของเขากับนายแพทย์ชราผู้นี้ จะสนิทสนมคุ้นเคยกันมานานปี แต่เขาก็ไม่เคยรู้สึกว่าได้ "รู้จัก" กับผู้ตายอย่างแท้จริงเลยจนกระทั่งนายแพทย์ผู้นี้ได้เสียชีวิตลง และกอร์ดอนเพื่อนๆ ก็ได้เข้าไปในบ้านของผู้ตาย เพื่อเก็บข้าวของที่ต้องการเอาไว้ ก่อนที่จะยกมรดกที่ที่เหลือให้เป็นสาธารณกุศล
ภายในอพาร์ตเมนต์มีข้าวของมากมาย เช่น แว่นตาสะสมหลายอัน, แผ่นเสียงจำนวนมาก, เบียร์โคโรน่าหนึ่งขวดในตู้เย็น และสิ่งที่กอร์ดอนสนใจที่สุดก็คือบนชั้นหนังสือ – มีหนังสือแปลหลายภาษาที่เกี่ยวกับเรื่องอายุรเวช ซึ่งเป็นของสะสมกอร์ดอนประทับใจมากบนชั้นหนังสือนั้น กอร์ดอนเห็นหนังสือ Paris France ฉบับพิมพ์ครั้งแรกของ เกอร์ทรูด สไตน์, นวนิยายเรื่อง Days of Wrath ของ อังเดร มัลโรซ์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ในปี 1936, หนังสือ Cast a Cold Eye ของ แมรี่ แม็กคาร์ธี่ย์, มีหนังสือรวมบทกวีของ ไดแลน โธมัส, The Second Tree From the Corner ของ อี.บี.ไวท์ โดยกอร์ดอนได้หยิบเอาหนังสือ War and Peace ของ ลีโอ ตอลสตอย ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1899 มาด้วย
-----------------
นอกจากนี้ บนชั้นหนังสือของนายแพทย์ผู้ตายยังมีหนังสือ English-language Rabelais ฉบับตีพิมพ์ในปี 1905 มีนิยายภาษาฝรั่งเศส Madame Bovary ของกุสตาฟ โฟลแบร์ ฉบับปี 1957, มีหนังสือ The Aleph and Other Stories ของ ฌอร์จ หลุยส์ โบชีส์, Consider the Oyster ของ เอ็ม.เอฟ.เค.ฟิชเชอร์ และยังมีหนังสือเปื่อยผุอย่าง Satchmo ที่แต่งโดย หลุยส์ อาร์มสตรอง และ St.Peter’s Day and Other Tales ของ แอนตัน เชคอฟ อยู่ด้วยรสนิยมทางวรรณกรรมของผู้ตาย ทำให้กอร์ดอนประหลาดใจมาก ว่าเหตุใดผลงานของ อี.บี.ไวท์ และ ตอลสตอย รวมทั้ง งานเขียนของ เกอร์ทรูด สไตน์ จึงปรากฏอยู่ในชั้นหนังสือสะสมของนายแพทย์ชราผู้นี้ และกอร์ดอนก็เสียดายมาก ที่เขาไม่เคยมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ตายถึงหนังสือเหล่านี้เลย
----------------
และในทุกวันนี้ กอร์ดอนก็ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับหนังสือเหล่านี้
----------------
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ลองถามตัวเราเองบ้างดีไหม ว่าถ้าเกิดเราเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน แล้วมีใครเข้าไปรื้อชั้นหนังสือที่บ้านเราเหมือนกอร์ดอน พวกนั้นจะได้เจออะไรบนชั้นหนังสือของเราบ้าง
-----------------
ลองเขียนมาเล่าสู่กันฟังหน่อยดีไหมคะ


-----------------------
deadreading
ชั้นหนังสือคนตาย
ตีพิมพ์ครั้งแรก
ในคอลัมน์ 'ปราย พันแสง
นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์
ฉบับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2547
ปีที่ 25 ฉบับที่ 1263

ภาพและข้อมูล www.lib.udel.edu
www.oceanworld.tamu.edu
www.losgardenios.com.pl
www.manhattanrarebooks.com

--------------------------
ปรากฎว่า หลังจากนั้น มีผู้อ่านเขียนจดหมายเข้ามาร่วมสนุกเป็นจำนวนมาก ฉันเองคัดนำไปลงตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ได้ประมาณสิบกว่าฉบับ แต่ยังเก็บจดหมายเหล่านั้นเอาไว้อย่างดีทุกฉบับ พอมีเวลา เลยขอวานแรงน้องๆ ใกล้ตัว ช่วยนำจดหมายเหล่านั้นมาพิมพ์เป็นไฟล์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้หน่อย เพราะอยากนำมาลงหนังสือ หรือเอามาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นอย่างมาก เนื่องจากแต่ละคน เขียนเรื่องหนังสือของตัวเองส่งมาให้อย่างตั้งอกตั้งใจ เขียนขึ้นมาจากความรักหนังสืออย่างแท้จริง และส่วนมาก หนังสือที่เขียนถึงเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นหนังสือดี ที่น่าจะได้อ่านกันสืบต่อไปในโลกนี้ เผื่อใครอยากจะไปหามาอ่านตามบ้าง
รับรองว่าไม่ผิดหวังหรอกค่ะ
---------------
ต้องขอบคุณเจ้าของจดหมายทุกฉบับ เจ้าของตัวหนังสือทุกตัว ที่ฉันขอวิสาสะนำมาลงในพื้นที่ตรงนี้โดยพละการ ด้วยหวังว่าคุณๆ ทั้งหลายจะเต็มใจ หรือหากประเมินผิดพลาดไป ก็ยินดียอมรับผลที่จะตามมาทุกเงื่อนไข สำคัญที่สุดก็คือ หากคุณยินดี หากคุณเต็มใจ หากคุณเป็นเจ้าของเรื่องราวเหล่านี้ กรุณาแสดงตัว หรือเขียนคอมเมนต์เล็กๆ น้อยทิ้งเอาไว้ให้เจ้าของบล็อกดีใจบ้างนะคะ หรือจะมาคุยกันใหม่อีกรอบก็จะดีใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ นะ มาคุยเรื่องหนังสือกันให้สาใจไปเลยดีกว่า
----------------
หากคุณที่เพิ่งเข้ามาเจอ "ชั้นหนังสือคนตาย" ที่นี่ครั้งแรก ก็ยังไม่สายนะ ถ้าจะลองสำรวจตู้หนังสือของคุณ แล้วเอามาบอกเล่ากันบ้าง :) ลองอ่านตัวอย่างน่ารัก หรืออาจจะน่าตาย :) ของคนที่เคยส่งมาก่อนก็ได้นะคะ

---------------

สิ่งที่คุณจะได้อ่าน ใน next entry ต่อๆไปคือจดหมายบางส่วนจากผู้อ่านที่เขียนมาค่ะ บางฉบับเคยตีพิมพ์ไปแล้วในมติชนสุดสัปดาห์

-------------------

แต่บางฉบับเพิ่งนำมาเผยแพร่ตีพิมพ์ครั้งแรกที่นี่